Home / About us / Travel / Graphic / Webboard







อาข่า เป็นชนเผ่าหนึ่งของประเทศไทยตั้งหมู่บ้านอยู่บนดอยสูง
เพราะบนดอยสูงมีลมพัดห่างไกลจากความชื้นจึงไม่ค่อยมียุง
เพราะการที่หมู่บ้านอยู่ห่างไกลจากเมืองมากๆการสัญจรไปมาลำบาก
ชาวบ้านจึงหาวิธี ป้องกันตัวเองจากการเจ็บไข้ได้ป่วย
จากไข้มาลาเรียด้วยการสร้างหมู่บ้านอยู่บนดอยสูง
เป็นภูมิปัญญาของชาวอาข่าที่ป้องกันตัวเองจากโรคภัยไข้เจ็บจากไข้มาลาเรีย อย่างได้ผลสังเกตุจากตัวเองที่มีโอกาสได้ไปเยี่ยมหมู่บ้านที่อยู่ห่างไกลจากความเจริญที่ตั้งอยู่บนดอยสูงจะไม่มียุง บางหมู่บ้านจะร้อนในหน้าแล้งเนื่องจากทำเลที่ตั้งและจะหนาวในหน้าหนาวจากคำบอกเล่าของผู้เฒ่าอ่าข่าให้ความกระจ่างว่าอ่าข่าประเทศไทยส่วนมากอพยพมาจากเชียงตุงของพม่าเข้ามาและปักหลักแหล่งครั้งแรกที่บ้านดอยตุงอำเภอแม่ฟ้าหลวง จังหวัดเชียงราย ผู้นำรุ่นแรกที่เข้ามาในประเทศไทยคือนายแสน อุ่นเรือน ส่วนญาติพี่น้องได้ย้ายไปอยู่หมู่บ้านต่างๆเช่นบ้านแสนใจพัฒนา ผาหมี และแสนเจริญเก่า







อาข่า คนไทยและคนพม่า เรียกว่า "อีก้อ" หรือ "ข่าก้อ" ลาวและชนชาติอินโดจีนตอนเหนือ เรียกอีก้อว่า "โก๊ะ" คนจีนเรียกว่า "โวนี" หรือ "ฮานี" ซึ่งหมายรวมถึงชนเผ่าที่พูดภาษาโลโลในมณฑลยูนนานทางตอนใต้ด้วย
นักมานุษยวิทยาและนักภาษาศาสตร์บางท่านได้จัดอาข่าอยู่ในตระกูลภาษาจีน - ธิเบต กลุ่มภาษาย่อยธิเบต-พม่า ในจีนตอนใต้พบว่าอาข่า อาศัยอยู่กระจัดกระจาย ทั่วไปปะปนกับชาวจีน หมู่บ้านอาข่าบางแห่งเป็นสังคมผสมระหว่างอาข่ากับจีน ทั้งนี้เกิดจากผู้ชายจีนไปแต่งงานกับหญิงสาวอาข่า

มีอาข่า อยู่มากในมณฑลยูนนาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในแคว้นสิบสองปันนาแลไกวเจา แต่เดิมอาข่า มีอาณาจักรอิสระของตนเองอยู่ บริเวณต้นแม่น้ำไท้ฮั้วสุยหรือแม่น้ำดอกท้อในแคว้นธิเบต ต่อมาถูกชนชาติอื่นรุกราน จนถอยร่นลงมาทางใต้ เข้าสู่มณฑลยูนนานและไกวเจา เป็นเวลานานหลายพันปีมาแล้ว และเมื่อพรรคคอมมิวนิสต์จึงเข้าคอรงแผ่นดินใหญ่จีน อาข่าและเผ่าอื่น ๆ อีกหลายเผ่าได้อพยพมาทางตอนใต้อีกแล้วกระจัดกระจายเข้าไปยังแคว้นเชียงตุงทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศพม่า ในแคว้นหัวโขงภาคตะวันตกและแคว้นพงสาลีภาคใต้ของลาว และในจังหวัดเชียงรายตอนเหนือสุดของประเทศไทย

อาข่า ในประเทศไทยอพยพมาจากพม่าและลาว เพราะถูกจีนรุกรานและบางกลุ่มอพยพเพราะถูกกดดันจากเหตุการณ์ทางการเมือง จากคำเล่าของผู้สูงอายุชาวอาข่า หลายคนได้ให้ข้อมูลว่า อาข่า อพยพเข้าในอยู่ในประเทศไทยประมาณ 60-80 ปี แล้ว เข้ามาตั้งถิ่นฐานครั้งแรกบริเวณดอยตุง อำเภอแม่สาย ต่อจากนั้นได้อพยพย้ายถิ่นออกไปตั้งถิ่นฐานในท้องที่ที่เป็นภูเขา ของจังหวัดต่าง ๆ คือ เชียงราย เชียงใหม่ ตาก กำแพงเพชร แพร่ ลำปาง และเพชรบูรณ์

มีอาข่า บางกลุ่มที่อพยพเข้ามายังประเทศไทยล่าสุดคือพวกที่อพยพมาจากแคว้นสิบสองปันนาของจีน เข้ามายังประเทศลาวก่อน เมื่อลาวเปลี่ยนแปลงการปกครอง ก็อพยพเข้ามายังประเทศไทย เพื่อหาที่ทำมาหากินใหม่ โดยอพยพเข้ามาทางเชียงแสนแล้วมาตั้งถิ่นฐานอยู่ที่ดอยผาหมีเขตอำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย และอีกกลุ่มอพยพจากดอยผาหมีออกไปตั้งอยู่ที่หมู่บ้านป่าฮี และหมู่บ้านน้ำริน ห่างจากผาหมีประมาณ 5 กิโลเมตร อาข่า พวกนี้ได้อพยพเข้ามายังประเทศไทยได้ ประมาณ 20-25 ปี และมีอยู่เพียง 3 หมู่บ้านเท่านั้น



อาข่า แบ่งออกเป็น 3 กลุ่มย่อย คือ 1. อาข่าโจโกวย หรืออาข่าไทย 2. อาข่าหม่อโป๊ะ หรือลอบือ หรืออาข่าจีน 3. อาข่าโลมีชา หรืออาข่าเยอตุง หรืออาข่าพม่า ลักษณะทางสังคม ลักษณะการตั้งหมู่บ้าน อาข่า ชอบตั้งหมู่บ้านตามภูเขาที่มีระดับความสูงโดยเฉลี่ยประมาณ 3,000-4,000 ฟุตจากระดับน้ำทะเลภูเขาหรือสันเขาในการเลือกตั้งหมู่บ้าน บุคคลสำคัญของหมู่บ้านประกอบไปด้วยหัวหน้าหมู่บ้าน หัวหน้าพิธีกรรมของหมู่บ้าน ช่างตีเหล็ก และผู้อาวุโสในหมู่บ้านจะเป็นผู้เลือกสถานที่เมื่อตกลงใจเลือกสถานที่ได้แล้ว หัวหน้าพิธีกรรมจะทำการเสี่ยงทายขอที่จากผีเจ้าที่ โดยใช้ไข่ 3 ฟอง โยนลงไปกระทบพื้น เมื่อไข่แตกก็แสดงว่าสร้างหมู่บ้านได้ ถ้าไข่ไม่แตกทั้ง 3 ฟอง จะตั้งหมู่บ้านบริเวณนั้นไม่ได้ เพราะผีไม่อนุญาต ต้องหาที่ตั้งหมู่บ้านใหม่
อาข่า ถือว่าภูเขาที่จะตั้งหมู่บ้านควรเป็นภูเขาลูกกลางที่ล้อมรอบด้วยภูเขาสูงลักษณะภูเขาเช่นนี้ถือกันว่าจะทำให้ชาวบ้าน อยู่กันอย่างร่มเย็นเป็นสุข เลี้ยงสัตว์ดีพืชผลในไร่อุดมสมบูรณ์
โครงสร้างหมู่บ้านประกอบด้วยสิ่งต่อไปนี้ ประตูหมู่บ้าน (ลกข่อ) ประตูหมู่บ้านนี้เป็นประตูทางเข้าหมู่บ้านทั้งด้านหน้าและด้านหลัง เป็นประตูศักดิ์สิทธิของอาข่า ใครจะแตะต้องไม่ได้ นอกจากวันทำพิธีสร้างประตู ูหมู่บ้านใหม่ ซึ่งจะต้องทำขึ้นใหม่ทุก ๆ ปีประมาณเดือนเมษายน ข้อห้ามเรื่องการแตะต้องประตูนี้จะห้ามทั้งคนนอกเผ่าและคนในเผ่า
ศาลผี (หมิชา ลอเอ๊อะ) ศาลนี้ตั้งอยู่ในป่าใกล้หมู่บ้าน แต่อยู่นอกเขตประตูหมู่บ้าน ศาลผีสร้างขึ้นเพื่อเป็นที่พำนักของผีป่าที่ผ่านไปมาเพื่อไม่ให้ผีป่าเข้าไปในหมู่บ้าน ศาลผีนี้จะต้องมีการเซ่นไหว้ทุกปีในเดือนเมษายนก่อนฤดูปลูกข้าว
ชิงช้า (หละซา หรือโละซ่า) สร้างขึ้นภายในหมู่บ้าน เป็นสัญลักษณ์อันศักดิ์สิทธิ์อย่างหนึ่งของหมู่บ้าน มีอยู่ 2 แบบคือ แบบระหัดวิดน้ำและกระโจม 4 เสา ชิงช้านี้ สร้างขึ้นเพื่อเป็นการเฉลิมฉลองในพิธีรำลึกถึงเทพธิดาผู้ประทาน ความอุดมสมบูรณ์ให้แก่พืชผลในไร่เมื่อถึงเทศกาลโล้ชิงช้าประจำปี ซึ่งจะจัดให้มีขึ้นประมาณเดือนสิงหาคม-กันยายน จะมีการสร้างขึ้นใหม่แทนอันเก่าทุก ๆ ปี ชิงช้านี้นอกจากวันทำพิธีกรรมแล้วจะแตะต้องไม่ได้เช่นเดียวกัน
แตะข่อ เป็นสถานที่พบปะและเกี้ยวพาราสีระหว่างหนุ่มสาว เพราะตามประเพณีอาข่าหนุ่มสาวจะเกี้ยวพาราสีกันบนบ้านไม่ได้ แตะข่อ เป็นสัญลักษณ์เฉพาะเผ่าอาข่า เท่านั้น เป็นสถานที่สำคัญ ชนรุ่นหลังจะต้องรักษาไว้เพื่อไม่ให้ผีบรรพบุรุษ ผีเรือน และสิ่งศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลายโกรธ และไม่พอใจต่อการกระทำของหนุ่มสาวในสถานที่อันไม่สมควร


: Gallry : Gallry : Gallry :




Bookmark and Share

Custom Search
Website counter